REGULATIONS

REGULATIONS

ข้อบังคับ
สมาคมต่อเรือและซ่อมเรือไทย

ข้อบังคับ สมาคมต่อเรือและซ่อมเรือไทย สมาคมการค้านี้จัดตั้งตามพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509
และอยู่ในความควบคุมของสำนักงานทะเบียนสมาคมสมาคมการค้าประจำกรุงเทพมหานคร

หมวดที่ 1
บทความทั่วไป

ข้อ 1. ชื่อของสมาคมการค้า สมาคมการค้านี้มีชื่อว่า “ สมาคมต่อเรือและซ่อมเรือไทย ” เขียนชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “ THAI SHIPBUILDING AND REPAIRING ASSOCIATION ” เรียกชื่อเป็นภาษาไทยว่า “ ไทยชิบบิลดิ้ง แอนด์ รีแพริ่ง แอสโซซิเอชั่น ” คำว่า “ สมาคม ”ต่อไปในข้อบังคับนี้ให้หมายถึง “ สมาคมต่อเรือและซ่อมเรือไทย ”
ข้อ 2. สำนักงานของสมาคมฯ สำนักงานของสมาคมนี้ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 96/67-68 หมู่ 9 ถ.พระราม 2 ซ.30 (ธนบุรี – ปากท่อ) กม.3 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150
ข้อ 3. ตราสมาคม ตราของสมาคมนี้ มีเครื่องหมายเป็นรูปอักษรตัว ยู ส่วนบนของทั้งสองข้างถูกตัด ขาดจากส่วนบานรูปตัวยูมีช่องว่างระหว่างกลางและมีลักษณะเป็นธงชาติไทยรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า ในแนวตั้ง ส่วนโค้งฐานตัวยูแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยเส้น 2 เส้น ตามแนวโค้งเหมือนกับส่วนฐานด้านล่างภายในส่วนโค้งด้านบนบรรจุข้อความ “ สมาคมต่อเรือและซ่อมเรือไทย ” และภายในด้านล่างบรรจุข้อความภาษาอังกฤษว่า “ THAI SHIPBUILDING ANDREPAIRING ASSOCIATION ”
ตรงกลางเป็นรูปเรือมองจากด้านหน้า มีภาพตัวเรือ สะพานเดนิเรือ และเสากระโดงเรือ และมีรูปแผนท่ีประเทศไทยอยู่ตรงกลางของตัวเรือ

หมวดที่ 2
วัตถุประสงค์

ข้อ 4. วัตถุประสงค์ของสมาคมฯ สมาคมนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
1. ส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการสร้างซ่อมบำรุงเรือซึ่งทำด้วยวัสดุทุกชนิด
2. สนับสนุนและช่วยเหลือสมาชิก แก้ไขอุปสรรคข้อขัดข้องต่าง ๆ รวมทั้งเจราจาทำความตกลงกับบุคคลภายนอก เพื่อประโยชน์ร่วมกันในการประกอบวิสาหกิจของสมาชิสอดส่องและตลอดจนความเคลื่อนไหวของตลาดการค้าเกี่ยวกับสินค้าที่สมาชิกประกอบวิสาหกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ เพื่ออำนวยประโยชน์ แก่การประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมการเงินหรือเศรษฐกิจ
3. ประสานความสามัคคีและแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นซึ่งกันและกันในทางวิชาการข่าวสารการค้า ตลอดจนทำการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิสาหกิจประเภทที่อยู่ในวัตถุประสงค์
4. ขอสถิติหรือเอกสาร หรือขอทราบข้อความใด ๆ จากสมาชิกเกี่ยวกับดำเนินการประกอบวิสาหกิจของสมาชิก ที่อยู่ในวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ด้วยความยินยอมของสมาชิก
5. ส่งเสริมคุณภาพของสินค้าและบริการที่สมาชิกเป็นผู้ผลิตหรือจำหน่ายให้เข้าสู่มาตรฐานที่ดีตลอดจนวิจัยและปรับปรุงการผลิตและการค้าให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
6. ร่วมมือกับรัฐบาลในการส่งเสริมการค้าอุตสาหกรรม การเงิน หรือธุรกิจอื่นใดในทางเศรษฐกิจอันอยู่ในวัตถุประสงค์ให้อยู่ในมาตรฐานที่ดีสอดคล้องกับนโยบายของทางราชการ
7. ส่งเสริมการผลิตเพื่อให้สินค้ามีปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ
8. ทำความตกลงหรือวางระเบียบให้สมาชิกปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติ เพื่อให้การประกอบวิสาหกิจของสมาชิกได้ดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย
9. ส่งเสริมพาลานามัย กีฬา และจัดงานบันเทิงเป็นครั้งคราว
10. ประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างสมาชิกหรือระหว่างสมาชิกกับบุคคลภายนอกในการประกอบวิสาหกิจ
11. ให้ความอนุเคราะห์แก่สมาชิกในด้านงานสวัสดิการเท่าที่ไม่เป็ นการต้องห้ามตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509
12. ไม่ประกอบกิจการค้าหรือไม่ดำเนินการทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่ง

หมวดที่ 3
สมาชิกและสมาชิกภาพ

ข้อ 5. ประเภทสมาชิก สมาชิกของสมาคมแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ สมาชิกสามัญ(1) สมาชิกสามัญ (2) สมาชิกวิสามัญ สมาชิกสมทบ และสมาชิกกิตติมศักดิ์
ข้อ 6. คุณสมบัติของสมาชิก
1. สมาชิกสามัญ (1) ได้แก่ สมาชิกสามัญเดิมที่เป็นสมาชิกก่อตั้งก่อนปี 2552 หรืออู่ต่อเรือ/ซ่อมเรือที่เป็นสมาชิกตั้งแต่ปี 2552เป็นต้นไป ที่มีขีดความสามารถในการต่อเรือ/ซ่อมเรือ ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ขนาดตั้งแต่ 2,000 DWT. ขึ้นไป
2. สมาชิกสามัญ (2) ได้แก่อู่ต่อเรือ/ซ่อมเรือ ที่เป็นสมาชิกตั้งแต่ปี 2552 เป็ นต้นไปและมีขีดความสามารถในการต่อเรือ/ซ่อมเรือ ที่ไม่เข้าตามเกณฑ์สมาชิกสามัญ (1)
3. สมาชิกวิสามัญ ได้แก่บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือสถาบัน ซึ่งได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายซึ่งประกอบวิสาหกิจทางการค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการต่อเรือและซ่อมเรือ รวมทั้งการสร้างแท่นขุดเจาะในทะเล หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ที่ดำเนินกิจการในลักษณะเดียวกัน
4. 
สมาชิกกิตติศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิในวงการอุตสาหกรรมการต่อเรือซ่อมเรือ หรือนิติบุคคลที่ปฏิบัติการจนมีชื่อเสียง มีอุปการคุณต่ออุตสาหกรรมหรือวงการต่อเรือ และหรือก่อประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นส่วนรวม หรือบุคคลที่มีอุปการคุณต่อสมาคม โดยมติคณะกรรมการสมาคมมีมติเป็นเอกฉันที่ให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ ของสมาคม และบุคคลดังกล่าวได้ตอบรับคำเชิญของสมาคม
5. สมาชิกสมทบ ได้แก่ บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ซึ่งจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
ข้อ 7. คุณลักษณะของผู้ที่จะเป็นสมาชิก นอกจากมีคุณสมบัติตามกำหนดไว้ในข้อ 6 แล้ว ผู้จะเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมยังจะต้องประกอบตัวยคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ คือ
1.เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว
2.ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือบุคคลที่ไร้ความสามารถ หรือบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ
3.ไม่เคยเป็นบุคคลที่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลมาก่อนเว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่มีกำหนดโทษชั้นลหุโทษ หรือความผิดซึ่งกระทำโดยประมาท ทั้งนี้วันแต่จะได้รับการผ่อนผันจากการคณะกรรมการของสมาคมเป็นกรณีพิเศษ
4.ไม่เป็นโรคอันพึงระเกียจแก่สังคม
5.เป็นผู้มีฐานะมั่นคงพอสมควร
6.เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย
ข้อ 8. การสมัครเป็นสมาชิก ผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกสามัญ หรือสมาชิกวิสามัญของสมาคมจะต้องยื่นความจำนงต่อเลขาธิการสมาคม หรือกรรมการผู้ทำหน้าที่แทนเลขาธิการสมาคมตามแบบพิมพ์ที่สมาคมได้กำหนดไว้ โดยมีสมาชิกสามัญของสมาชิกสมาคมเป็นผู้รับรองอย่างน้อย 2 คน
ข้อ 9. การพิจารณาคำขอสมัครเข้าเป็นสมาชิก ให้เลขาธิการการสมาคมหรือกรรมการผู้ทำหน้าที่แทนเลขาธิการสมาคมนำไปสมัครต่อที่ประชุมคณะกรรมการของสมาคมในคราวต่อไปครั้งแรกหลังจากที่ได้รับสมัคร เมื่อคณะกรรมการของสมาคมมีมติให้รับหรือไม่รับผู้ใดเช้าเป็นสมาชิกแล้ว ให้เลขาธิการสมาคมหรือกรรมการผู้ทำหน้าที่แทนเลขาธิการสมาคม มีหนังสือแจ้งให้ผู้สมัครผู้นั้น ทราบภายในกำหนดเวลา 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้ลงมติหนังสือแจ้งดังกล่าวในวรรคแรกจะต้องจัดส่งเป็นจดหมายทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ณ ที่อยู่ของผู้สมัครที่ปรากฏอยูในใบสมัคร
ในกรณีที่มีมติให้รับผู้สมัครจะต้องชำระคำลงทะเบียน เข้าเป็นสมาชิกและค่าบำรุงสมาคม ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือนี้
ข้อ 10. วันเริ่มสมาชิกภาพ ภายใต้บังคับ แห่งความข้อ 9 วรรคท้าย สมาชิกภาพเริ่มตั้งแต่วันที่ผู้สมัครได้ชำระค่าลงทะเบียนเข้าเป็นสมาชิกและค่าบำรุงสมาคมเรียบร้อยแล้ว
ข้อ 11. สมาชิกที่เป็นนิติบุคคล สมาชิกที่เป็นนิติบุคคลจะต้องแต่งตั้งผู้แทนซึ่งจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นได้ 1 คน เพื่อปฏิบัติกิจการในหน้าที่และใช้สิทธิแทนนิติบุคคลนั้น ในการนี้ ผู้แทนจะมอบหมายให้บุคคลอื่นกระทำแทนหรือแต่งตั้งตัวแทนช่วงมิได้
ข้อ 12. การขาดสมาชิกภาพ การขาดสมาชิกภาพ สมาชิกภาพย่อมสิ้นสุดลงในกรณี ดังต่อไปนี้
1.ตาย (เว้น แต่ผู้แทนสมาชิกตามช้อ 11 ตาย ) หรือสิ้นสภาพนิติบุคคล
2.ขาดคุณสมบัติตามข้อ 6.1 หรือ ธ.2 แล้วแต่กรณี
3.ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อคณะกรรมการของสมาคม และได้ชำระหนี้สินค้างชำระแก่สมาชิกเรียบร้อยแล้ว
4.ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย
5.ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลไรดวามสามารถ หรือบุคคลเสมือนไรความสามารถ
6.ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก เว้นแต่เป็นกรณีเป็นความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่กำหนดโทษชั้นลหุโทษ หรือความผิดที่กระทำโดยประมาท
7.คณะกรรมการของสมาคมมีมติให้ลบชื่ออกจากทะเบียนสมาชิก โดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้
(1) เจตนากระทำการใด ๆ ที่ทำให้สมาคมเสียชื่อเสียง
(2) เจตนาละเมิดข้อบังคับ
(3) ไม่ชำระเงินค่าบำรุงสมาชิกสมาคมเกินกว่า 1 ปี โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
8.สมาชิกที่ขาดจากสมาชิกภาพแล้ว หากมีความประสงค์ที่จะสมัครเช้าเป็นสมาชิกใหม่จะต้องชำระเงินดำบำรุงสมาคมที่ค้างไว้ให้เรียบร้อย และจะต้องเว้นระยะจากการขาดจากสมาชิกภาพเป็นเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันสิ้นสุดการเป็นสมาชิกภาพ
ข้อ 13. ทะเบียนสมาชิก ให้นายทะเบียนสมาคมจัดทำทะเบียนสมาชิกเก็บไว้ ณ สำนักงานของสมาคม โดยมีรายการตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509 ได้กำหนดไว้

หมวดที่ 4
ค่าลงทะเบียนเข้าเป็นสมาชิก และค่าบำรุงสมาคมประจำปี

ข้อ 14.ค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคม 

กรณีสมัครเป็นสมาชิกระหว่างปีในช่วง
ประเภทสมาชิก ค่าบำรุงต่อปี ค่าลงทะเบียน (แรกเข้า) มค.-มีค. เมย.-มิย. กค.-กย. ตค.-ธค.
สามัญทุนจดทะเบียนมากกว่า 100 ล้านบาท 40,000 10,000 40,000 30,000 20,000 10,000
สามัญทุนจดทะเบียนมากกว่า 50-100 ล้านบาท 30,000 10,000 30,000 22,500 15,000 7,5000
สามัญทุนจดทะเบียนมากกว่า 10-50 ล้านบาท 20,000 10,000 20,000 15,000 10,000 5,000
สามัญทุนจดทะเบียน 1-10 ล้านบาท 10,000 10,000 10,000 7,5000 5,000 2,500
วิสามัญ 10,000 5,000 10,000 7,500 5,000 2,500
สมทบ 3,000 2,000 3,000 2,250 1,500 750

ข้อ 15. ค่าบำรุงพิเศษ ที่ประชุมใหญ่สมาชิกอาจลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของ จำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมดให้กำหนดโครงการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่งที่สมาคมจะจัดทำอันอยู่ในวัตถุประสงค์ของสมาคมและมอบหมายให้คณะกรรมการของสมาคมลงมติกำหนดอัตราเงินเรียกเก็บจากสมาชิกเป็นคราวๆเพื่อการนั้นก็ได้

หมวดที่ 5
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

ข้อ 16. สิทธิของสมาชิก

สิทธิของสมาชิกสมาคมฯประเภทสมาชิก
สิทธิประโยชน์สามัญวิสามัญ
1. มีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคม ฯXX
2. มีสิทธิ์ในการออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีหรือในที่ประชุมใหญ่วิสามัญโดยให้เป็นไปตามข้อบังคับ ของสมาคม ฯX 
3. สมัครเป็นกรรมการบริหารของสมาคมฯ โดยให้สมาชิกเป็นผู้เลือกตามข้อบังคับของสมาคมฯXX
4. มีสิทธิ์ได้รับหนังสือรับรองเพื่อขอสิทธิการยกเว้นอากรนำเข้าวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับต่อเรือและซ่อมเรือโดยเป็นไปตามประกาศ กรมศุลกากรที่ 149/2555 เรื่องเกณฑ์และเงื่อนไขในการยกเว้นอากรสำหรับของตามภาค 4 ประเภท 7 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530X 
5. มีสิทธิ์ได้รับหนังสือรับรองขีดความสามารถจากสมาคมฯ เมื่อผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการสมาคมฯ แล้วX 
6. นำผลงานลงเว็บไซต์ของสมาคมฯได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆX 
7. สมาชิกจะได้รับส่วนลดพิเศษในการเข้าสัมมนาทางวิชาการและหลักสูตรฝึกอบรมต่างๆของสามาคมฯXX
8. สามารถร้องเรียนอุปสรรค ปัญหาต่างๆที่มีผลกระทบต่อ อุตสาหกรรมของท่าน เพื่อที่สมาคมฯจะได้ดำเนินการหรือประสานงานต่อไปยังหน่อยงานที่รับผิดชอบXX
9. ได้รับความช่วยเหลือและการสงเคราะห์เกี่ยวกับกิจการอันอยู่ในวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ จากสมาคมเท่าที่จะอำนวยได้XX
10. เสนอความคิดเห็นหรือให้คำแนะนำต่อสมาคมฯ หรือคณะกรรมการของสมาคมฯ ในเรื่องใดๆ อันอยู่ในวัตถุประสงค์ ของสมาคมฯ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมอู่เรือXX
11. เข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการในโครงการต่างๆเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอู่เรือXX

ข้อ 17. หน้าที่ของสมาชิก 
1.ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ คำสั่งของสมาคม มติที่ประชุมใหญ่ และมติของคณะกรรมการของสมาคมโดยเคร่งครัด
2.ดำรงรักษาเกียรติและผลประโยชน์ที่ส่วนเสียของสมาคม
3.ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของสมาคมให้เจริญรุ่งเรืองและมีความก้าวหน้าอยู่เสนอ
4.ชำระค่าบำรุงให้แก่สมาคมตามกำหนด
5.สมาชิกผู้ใดเปลี่ยนแปลงนาม นามสกุล สัญชาติ ย้ายที่อยู่ ย้ายสำนักงานเปลี่ยนแปลงประเภทวิสาหกิจ เลิกประกอบวิสาหกิจ หรือเปลี่ยนผู้แทนนิติบุคคล จะต้องแจ้งให้เลขาธิการสาชมาคมใทราบเป็นหนังสือภายในกำหนดเวลา 7 วันนับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง 

หมวดที่ 6
คณะกรรมการของสมาคม

ข้อ 18. การเลือกตั้งคณะกรรมการของสมาคมให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเป็นผู้บริหารของสมาคมและเป็นผู้แทนของสมาคมในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ประกอบด้วย1.สมาชิกสามัญ(1) สมาชิกสามัญ (2) และสมาชิกวิสามัญ ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ประจำปี มีจำนวน 15 คน ประกอบด้วยกรรมการ 3 กลุ่มได้แก่
กรรมการกลุ่มที่ 1 ได้แก่ สมาชิกสามัญ (1) จำนวน 10 คน
กรรมการกลุ่มที่ 2 ได้แก่ สมาชิกสามัญ (2) จำนวน 4 คนกรรมการกลุ่มที่ 3 ได้แก่ สมาชิกวิสามัญ จำนวน 1 คน
การเลือกตั้งกรรมการให้กระทำโดย

กรรมการกลุ่มที่ 1  ประกอบตัวย สมาชิกสามัญ (1) จำนวน 10 คน เลือกตั้งกรรมการให้กระทำโดย การเสนอชื่อโดยสมาชิกสามัญ (1) ให้ที่ประชุมโดยสมาชิกสามัญ (1) สมาชิกสามัญ (2) สมาชิกกิตติมศักดิ์รับรองไม่น้อยกว่า 3 คน แล้วให้ที่ประชุมใหญ่โดยสมาชิกสามัญ (1) ลงมติเลือกตั้ง ผู้ได้รับคะแนนสูงตามลำดับได้เป็นกรรมการ ถ้ามีผู้ได้คะแนนเท่ากันในลำดับท้ายที่จะได้เป็นกรรมการและเกินจำนวน ให้ที่ประชุมใหญ่โดยสมาชิกสามัญ (1) ลงมติใหม่เฉพาะผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันในลำดับท้าย หากปรากฏว่าได้คะแนนเท่ากันอีกให้ใช้วิธีจับฉลาก
กรรมการกลุ่มที่ 2  ประกอบด้วย สมาชิกสามัญ (2) จำนวน 4 คน เลือกตั้งกรรมการให้กระทำโดยการเสนอชื่อโดยสมาชิกสามัญ (1) สมาชิกสามัญ (2) ให้ที่ประชุมโดยสมาชิกสามัญ (1) สมาชิกสามัญ (2)สมาชิกกิตติมศักดิ์ รับรองไม่น้อยกว่า 3 คน แล้วให้ที่ประชุมใหญ่โดยสมาชิกสามัญ (1) สมาชิกสามัญ (2)ลงมติเลือกตั้ง ผู้ได้รับคะแนนสูงตามลำดับได้เป็นกรรมการ ถ้ามีผู้ได้คะแนนเท่ากันในลำดับท้ายที่จะได้เป็นกรรมการ และเกินจำนวน ให้ที่ประชุมใหญ่โดยสมาชิกสามัญ () และสมาชิกสามัญ (2) ลงมติใหม่เฉพาะผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันในลำดับท้ายหากปรากฏว่าได้คะแนนเท่ากันอีก ให้ใช้วิธีจับฉลากบทเฉพาะกาล ถ้าสมาชิกสามัญ (2) มีจำนวนน้อยกว่า 8 รายให้สมาชิกสามัญ (1) ที่ยังไม่ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการในกลุ่มที่ 1 สามารถเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการกลุ่มที่ 2 ได้ด้วยกรรมการกลุ่มที่ 3 ประกอบต้วยสมาชิกวิสามัญ จำนวน 1 คน เลือกตั้งกรรมการให้กระทำโดยการเสนอชื่อโดย สมาชิกสามัญ (1) สมาชิกสามัญ (2) สมาชิกวิสามัญ สมาชิกกิตติมศักดิ์ให้ที่ประชุมโดยสมาชิกสามัญ (1) สมาชิกสามัญ (2) สมาชิกกิตติมศักดิ์ รับรองไม่น้อยกว่า 3 คน ให้ที่ประชุมใหญ่โดยสมาชิกสามัญ (1) สมาชิกสามัญ (2) สมาชิกวิสามัญ ลงมติเลือกตั้งผู้ได้รับคะแนนสูงสุดได้เป็นกรรมการ ถ้ามีผู้ได้คะแนนสูงสุดเท่ากัน ให้ที่ประชุมใหญ่โดยสมาชิกสามัญ (1) สมาชิกสามัญ (2) และสมาชิกวิสามัญ ลงมติใหม่เฉพาะผู้ที่ได้คะแนนเท่ากัน หากปรากฏว่าได้คะแนนเท่ากันอีก ให้ใช้วิธีจับฉลากให้คณะกรรมการของสมาคมเลือกตั้งกันเองเพื่อดำรงตำแหน่งนายกสมาคม 1 คนอุปนายกสมาคม เลขาธิการสมาคม เหรัญญิกสมาคม นายทะเบียนสมาคม ประชาสัมพันธ์สมาคมและปฏิคมสมาคม ตำแหน่งละ 1 คน หรือมากกว่านั้น และตำแหน่งอื่นๆ ที่จะกำหนดหน้าที่ตามที่เห็นสมควร

คณะกรรมการของสมาคม ให้มีสภาพกรรมการอยู่ได้คราวละ 2 ปี ภายใต้ข้อบังคับแห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ.2509 มาตรา 19 หรือ 33 กรรมการที่พ้นจากสภาพกรรมการไปแล้วอาจได้รับเลือกตั้งให้เป็นกรรมการอีกได้

ข้อ 19. การพ้นสภาพกรรมการกรรมการของสมาคมย่อมพ้นจากสภาพกรรมการในกรณี ดังต่อไปนี้
1. ครบกำหนดออกตามวาระ
2. ลาออกโดยคณะกรรมการของสมาคมฯได้ลงมติอนุมัติแล้ว
3. พ้นจากการเป็นผู้แทนของสมาชิกซึ่งเป็นนิติบุคคล
4. ขาดจากสมาชิกภาพ
5. ที่ประชุมใหญ่มีมติให้ถอดถอนออกจากการเป็นกรรมการ
6. เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สั่งให้ออก ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ.2509
ในกรณีที่ผู้แทนของสมาชิกซึ่งเป็นนิติบุคคลตามข้อ 11 ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการตายหรือพ้นจากตำแหน่งผู้แทนของสมาชิกรายนั้น ผู้แทนคนใหม่ของสมาชิกรายนั้นจะเข้าแทนที่เป็นกรรมการแทนก็ได้

ข้อ 20. การพ้นสภาพกรรมการ กรณีที่กรรมการพ้นจากสภาพกรรมการก่อนครบกำหนดออกตามวาระในกรณีที่กรรมการพ้นจากสภาพกรรมการก่อนครบกำหนดออกตามวาระ คณะกรรมการของสมาคมอาจตั้งสมาชิกของสมาคมตามประเภทกรรมการที่หมดสภาพให้เป็นกรรมการแทนได้ แต่กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งแทนนี้ไห้เป็นกรรมการอยู่ได้เพียงเท่ากำหนด วาระของคณะกรรมการชุดนั้น

ข้อ 21. องค์ประชุมใหญ่ในการประชุมของคณะกรรมการของสมาคม การประชุมใหญ่ของคณะกรรมการของสมาคมจะต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะนับว่าเป็นองค์ประชุม นอกจากว่าในขณะที่มีการประชุมกรรมการของสมาคมครั้งนั้นๆ จะมีจำนวนกรรมการในคณะกรรมการของสมาคมฯน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด  ในกรณีที่มีจำนวนกรรมการในคณะกรรมการของสมาคมน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด กรรมการที่มีอยู่ย่อมทำกิจการได้เฉพาะแต่ในเรื่องที่จะตั้งสมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนเปีนกรรมการแทนเพิ่มขึ้นให้ครบจำนวนหรือนัดเรียกประชุมใหญ่เท่านั้น จะทำกิจการอย่างอื่นไม่ได้ทั้งสิ้น

ข้อ 22. มติของที่ประชุมคระกรรมการของสมาคม นอกจากที่กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นในข้อบังคับนี้ให้ถือเอาคะแนนเสียงช้างมากเป็นมติของที่ประชุม ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด

ข้อ 23. ประธานที่ประชุม ให้นายกสมาคม เป็นประธานที่ประชุม ถ้านายกสมาคมไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้อุปนายกสมาคมปฏิบัติหน้าที่แทน ถ้าทั้งนายกสมาคมและอุปนายกไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม เฉพาะการประชุมคราวนั้น

ข้อ 24. การประชุมคณะกรรมการของสมาคม ให้มีการประชุมคณะกรรมการของสมาคมอย่างน้อย 2 เดือน ต่อครั้ง อนึ่งในกรณีที่จำเป็นนายกสมาคมหรือกรรมการรวมกันไม่น้อยกว่า 5 คน จะเรียกประชุมพิเศษขึ้นก็ได้ 

ข้อ 25. การรับมอบงานของคณะกรรมการของสมาคม เมื่อมีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่แต่ละครั้ง ในกรณีครบวาระหรือคณะกรรมการชุดเดิมลาออกทั้งคณะ ให้คณะกรรมการของสมาคมชุดใหม่ที่ได้รับเลือกตั้งเข้ารับมอบงานจากคณะกรรมการของสมาคมชุดเดิมภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันได้รับเลือกตั้งและการส่งมอบรับมอบนี้จะต้องกระทำเป็นลายลักษณ์อักษร การเข้ารับมอบงานของคณะกรรมการซุดไหม่นี้จะกระทำได้ต่อเมื่อได้ยื่นจดทะเบียนเป็นคณะกรรมการของสมาคมต่อนายทะเบียนสมาคมการค้าประจำ…………….กรุงเทพมหานคร,จังหวัด……. แล้ว และหากว่ายังไม่มีการจดทะเบียนเป็นกรรมการชุดใหม่ให้ถือว่าคณะกรรมการชุดเดิมเป็นคณะกรรมการของสมาคมอยู่เดิมตราบเท่าเวลานั้น

ข้อ 26. อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการของสมาคม ให้คณะกรรมการของสมาคมมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้ 
1. จัดดำเนินกิจการและทรัพย์สินของสมาคมให้เป็นไปตามข้อบังคับและมติของที่ประชุม
2. เลือกตั้งกรรมการให้ดำรงตำแหน่งต่างๆในคณะกรรมการของสมาคม
3. วางระเบียบการในการปฏิบัติของสมาคม
4. ว่าจ้างแต่งตั้ง ถอดถอน ที่ปรึกษาของคณะกรรมการของสมาคม อนุกรรมการ เจ้าหน้าที่และพนักงานทั้งปวง เพื่อให้การดำเนินงานของสมาคมเป็นไปโดยเรียบร้อย โดยอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการของสมาคม

ข้อ 27. อำนาจหน้าที่กรรมการของสมาคมในตำแหน่งต่างๆ อำนาจหน้าที่ของกรรมการสมาคมในตำแหน่งต่างๆ มีดังนี้
1.นายกสมาคม มีหน้าที่ดำเนินกิจการของสมาคมให้เป็นไปตามข้อบังคับและระเบียบการในการปฏิบัติงานของสมาคม เป็นผู้แทนของสมาคมในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก และเป็นประธานในที่ประชุมของคณะกรรมการของสมาคมตลอดจนในที่ประชุมใหญ่
2.อุปนายกสมาคม.. มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายกสมาคมในกิจการทั้งปวงอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายกสมาคมและเป็นผู้ทำการแทนนายกสมาคมเมื่อนายกสมาคมไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
3.เหรัญณิกสมาคม มีหน้าที่รักษาและจ่ายเงินสมาคม ทำบัญชีการเงิน เก็บรักษาและจ่ายพัสดุของสมาคม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการของสมาคมจะได้รับมอบหมาย
4.นายทะเบียนหมาคม มีหน้าที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมาชิกและทะเบียนต่างๆอันมิใช่ทะเบียนเกี่ยวกับการเงินของสมาคม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการของสมาคมจะได้รับมอบหมาย
5.ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เกี่ยวกับการโฆษณาเชิญชวนหาสมาชิก โฆษณากิจการและผลงานด้านต่างๆ ของสมาคม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการของสมาคมจะได้ รับมอบหมาย
6.เลขาธิการสมาคม มีหน้าที่ทำการใต้ตอบหนังสือ เก็บรักษาเอกสารต่างๆ ของสมาคม เปินเลขานุการในที่ประชุมคณะกรรมการของสมาคมและที่ประชุมใหญ่ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่คณะกรรมการของสมาคมจะได้รับมอบหมาย
7.ปฏิคมสมาคม มีหน้าที่ต้อนรับ รักษาสำนักงานของสมาคม รักษาความสงบเรียบร้อยของสถานที่ รักษาสมุดเยี่ยม จัดสถานที่ประชุม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ คณะกรรมการของสมาคมจะได้รับมอบหมาย

ข้อ 27. ภายใต้ข้อบังคับแห่งความในหมวดที่ 7 การประชุมใหญ่มาใช้บังคับโดยอนุโลม 

หมวดที่ 7
การประชุมใหญ่

ข้อ 29. การประชุมใหญ่  การประชุมใหญ่ให้หมายถึง การประชุมสมาชิกของสมาคม แบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี คือการประชุมใหญ่ที่จะต้องมีขึ้นครั้งหนึ่งทุกระยะเวลาสิบสองเดือน
2. การประชุมใหญ่วิสามัญ คือการประชุมใหญ่ครั้งอื่นๆบรรดามี นอกจากการประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือการประชุมสมาชิกประจำเดือน
ข้อ 30. กำหนดการประชุมใหญ่  กำหนดการประชุมใหญ่ มีดังนี้
1. ให้มีการประชุมใหย่สามัญประจำปี ภายในเดือนกรกฏาคมของทุกปีและไม่เกิน 120 วันนับแต่วันสิ้นปีการบัญชีของสมาคม
2.
ถ้ามีเหตุอันใดอันหนึ่งซึ่งคณะกรรมการของสมาคมมีมติเห็นสมควร หรือสมาชิกมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดแสดงความจำนงที่ จะให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญโดยทำคำร้องข้อเป็นลายลักษณ์อักษรยื่นต่อเลขาธิการสมาคมหรือกรรมการผู้ทำหน้าที่แทนเลขาธิการสมาคมให้คณะกรรมการของสมาคมนัดประชุมใหญ่วิสามัญภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ลงมติหรือวันที่ได้รับหนังสือคำร้องขอหนังสือบอกกล่าวจะต้องระบุข้อความแจ้งเหตุเพื่อการใดที่จะขอให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญนี้ด้วย
ข้อ 30. การส่งหนังสือบอกกล่าวนัดประชุม ​คณะกรรมการของสมาคมจะต้องส่งหนังสือบอกกล่าวถึง วัน เวลา สถานที่ และระเบียบวาระการประชุมใหญ่ไปให้สมาชิกทุกคนได้ทราบโดยส่งทางไปรษณีย์ ลงทะเบียน ณ ที่อยู่ของสมาชิกที่ปรากฏอยู่ในทะเบียนหรือส่งให้ถึงตัว สมาชิกก่อนกำหนดวันประชุมใหญ่ไม่น้อยกว่า 7 วันข้อ 32. องค์ประชุมในการประชุมใหญ่ ในการประชุมใหญ่ของสมาคมจะต้องมีสมาชิกสามัญมาประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมดจึงจะถือเป็นองค์ประชุม
ข้อ 33. กรณีที่การประชุมในครั้งแรกสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุม การประชุมใหญ่ที่ได้เรียกนัดประชุม วันและเวลาใดหากล่วงพ้นกำหนดเวลานัดไปแล้ว 1 ชั่วโมง ยังมีสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุม ถ้าองค์ประชุมใหญ่คราวนั้นได้เรียกนัดเพราะสมาชิกร้องขอให้เลิกประชุม ถ้ามิใช่เพราะสมาชิกร้องขอให้เลื่อนการประชุมคราวนั้นไป และให้ทำการบอกกล่าวนัดประชุม วัน เวลาและสถานที่ ประชุมใหญ่นี้อีกครั้งหนึ่งภายในกำหนดเวลา 15 วัน นับแต่วันประชุมใหญ่คราวแรกในการประชุมใหญ่คราวหลังนี้จะมีสมาชิกมากน้อยเพียงใดก็ให้ถือว่าเป็นองค์ประชุม
ข้อ 34. ประธานในที่ประชุม ให้นายกสมาคมเป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ ถ้านายกสมาคมไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ อุปนายกสมาคมทำหน้าที่แทน ถ้าทั้งนายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกตั้งกรรมการคนหนึ่งคนใดขึ้นเป็นประธานในที่ประชุม และถ้าไม่มีกรรมการอยู่ในที่ประชุมเลยก็ให้ที่ประชุมเลือกตั้งสมาชิกสามัญคนหนึ่งคนใดขึ้นเป็นประธานในที่ประชุม เฉพาะการประชุมคราวนั้น
ข้อ 35. วิธีออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่ สมาชิกสามัญเท่านั้นมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเว้นแต่การลงคะแนนเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคมของกรรมการกลุ่มที่ 3 ให้เป็นไปตามข้อบังคับหมวดที่ 6 ข้อ 18 และสมาชิกสามัญคนหนึ่ง ๆ มีคะแนนเสียงหนึ่งเสียงการออกเสียงในที่ประชุมใหญ่ ให้ถือปฏิบัติเป็น 2 กรณีคือ
1. โดยวิธีเปิดเผยให้ใช้วิธีชูมือ
2. โดยวิธีลงคะแนนลับ ให้ใช้วิธีเขียนบัตรลงคะแนน และจะกระทำได้เมื่อคณะกรรมการของสมาคมเห็นสมควรหรือสมาชิกสามัญไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่มาประชุมร้องขอ
ข้อ 36. มติขององค์ประชุมใหญ่ นอกจากที่กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นในข้อบังคับนี้ ให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมาก เป็นมติของมติของที่ประชุมใหญ่ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ 37. กิจการอันพึงกระทำในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี กิจการอันพึงกระทำในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี มีดังนี้
1. รับรองรายงานการประชุมใหญ่คราวก่อน
2. พิจารณารายงานประจำปี แสดงผลการดำเนินกิจการของสมาคมที่ผ่านมาในรอบปี
3. พิจารณาอนุมัติงบดุล
4. เลือกตั้งคณะกรรมการของสมาคม (ในปีที่ครบกำหนด)
5. เลือกตั้งที่ปรึกษากฎหมายของสมาคมประจำปี ผู้สอบบัญชีของสมาคมประจำปืและกําหนดค่าตอบแทน
6. เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี)
ข้อ 38. กิจการอันพึงกระทำในการประชุมใหญ่วิสามัญ กิจการอันพึงกระทำในการประชุมใหญ่วิสามัญ ได้แก่ การที่จะกระทำโดยอาศัยมติจากที่ประชุมใหญ่ แต่ไม่อาจหรือมีเหตุทำให้ไม่สามารุจัดทำได้ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี
ข้อ 39. กิจการอันพึงกระทำในการประชุมคณะกรรมการสมาคมกิจการอันพึงกระทำในการประชุมคณะกรรมการสมาคม ได้แก่ กิจการอันเกี่ยวกับการปฏิบัติธุรกิจทั่วไปของสมาคมนอกจากกิจการที่จำเป็นจะต้องกระทำได้ก็แต่โดยการประชุมใหญ่สามัญประจำปีหรือการประชุมใหญ่วิสามัญ

หมวดที่ 8
การเงิน และการบัญชีของสมาคม

ข้อ 40. การจัดทำงบดุล ให้คณะกรรมการของสมาคมจัดทำงบดุลปีละหนึ่งครั้ง แล้วส่งให้ผู้สอบบัญชีไม่เกินเดือนพฤษภาคมของทุกปี และผู้สอบบัญชีจะต้องตรวจสอบให้แล้วเสร็จก่อนวันประชุมใหญ่สามัญประจำปีไม่น้อยกว่า 30 วัน
ข้อ 41. ปีการบัญชี ให้ถือเอาวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี เป็นวันสิ้นปีการบัญชีของสมาคม
ข้อ 42. อำนาจของผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งมีอำนาจเข้าตรวจสอบสมุดบัญชีและบรรดาเอกสารเกี่ยวกับการเงินของสมาคม และมีสิทธิสอบถามกรรมการตลอดจนเจ้าหน้าที่ของสมาคมทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบัญชีและเอกสารดังกล่าวในการนี้กรรมการและเจ้าหน้าที่จะต้องช่วยเหลือและให้ความสะดวกทุกประการเพื่อการตรวจสอบเช่นว่านั้น
ข้อ 43. การเก็บรักษาสมุดบัญชีและเอกสารการเงิน  สมุดบัญชีและเอกสารการเงินของสมาคมจะต้องเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานของสมาคม และให้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของเหรัญญิกสมาคม
ข้อ 44. การเงินของสมาคม ให้มีเงินทดรองจ่ายเกี่ยวกับกิจการของสมาคมไม่เกินวงเงิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ในการนี้เหรัญญิกสมาคมเป็นผู้รับผิดชอบ และเก็บรักษาตัวเงิน
ข้อ 45. การจ่ายเงินของสมาคม ในการจ่ายเงินของสมาคมครั้งล่ะเกินกว่า 20,000- บาท(สองหมื่นบาทถ้วน) ให้กระทำโดยมติจากที่ประชุมคณะกรรมการของสมาคมทุกครั้งไป ให้นายกสมาคม อุปนายกสมาคม หรือเลขาธิการสมาคม คนใดคนหนึ่งมีอำนาจสั่งจ่ายเงินเกี่ยวกับกิจการของสมาคมไดครั้งล่ะไม่เกิน 20,000- บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)

หมวดที่ 10
การแก้ไขข้อบังคัญ การเลิกสมาคม และการชำระบัญชี

ข้อ 46. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงตัดทอนหรือเพิ่มเติมข้อบังคับ  ข้อบังคับนี้จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงตัดทอนเพิ่มเติมได้ก็แต่จะกระทำโดยมติของที่ประชุมใหญ่ ซึ่งมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของ จำนวนสมาชิกสามัญที่มาประชุม
ข้อ 47. การเลิกสมาคม สมาคมนี้อาจเลิกได้ด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้
1. เมื่อที่ประชุมใหญ่ลงมติให้เลิกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมด
2. เมื่อล้มละลาย
3. เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวจพาณิชย์ส่งให้เลิกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509
ข้อ 48. การชำระบัญชี
เมื่อสมาคมนี้ต้องเลิกไปเพราะเหตุหนึ่งเหตุใดดังกล่าวในช้อ 47 การชำระบัญชีของสมาคมให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509 มาใช้บังคับในกรณีที่สมาคมต้องเลิกไปตามข้อ 47.3 ให้ที่ประชุมใหญ่คราวนั้นลงมติเลือกตั้งกำหนดตัวผู้ชำระบัญชีเสียด้วย และหากต้องเลิกไปตามข้อ 47.3 ให้กรวมการทุกคนในคณะกรรมการของสมาคมชุดสุดท้ายที่ได้จดทะเบียนเป็นกรรมการของสมาคมต่อนายทะเบียนสมาคมการค้าประจำกรุงเทพฯ เป็นผู้ชำระบัญชีหากมีทรัพย์สินของสมาคมจากการชำระบัญชีให้ยกให้แก่นิติบุคลในประเทศไทยวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการกุศลสาธารณะแห่งหนึ่งแห่งใด หรือหลายแห่งตามมติของที่ประชุมใหญ่

 

หมวดที่ 11
บทเฉพาะกาล

ข้อ 49. เมื่อนายทะเบียนสมาคมการค้าประจำกรุงเทพฯได้อนุญาตให้จัดตั้งเป็นสมาคมการค้าแล้วให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งทั้ง…..คน ทำหน้าที่คณะกรรมการของสมาคมจนกว่าจะได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการของสมาคมตามข้อบังคับนี้ ซึ่งจะต้องจัดขึ้นใหม่ภายในกำหนดเวลา 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นสมาคมการค้าแล้ว
ภายใต้บังคับแห่งความในวรรคแรก กรณีที่การประชุมใหญ่เลือกตั้งคณะกรรมการคณะกรรมการของสมาคมชุดแรกในช่วงเวลาน้อยกว่า 13 เดือน นับแต่วันสิ้นปีการบัญชีของสมาคมเป็นวันตั้งคำนวณเวลาวาระกรรมการตามข้อ 18 วรรคที่ 
ข้อ 50. เพื่อประโยชน์แห่งความในข้อบังคับ 8 ให้เริ่มก่อการจัดตั้งทั้ง….คนทำหน้าที่เป็นสมาชิกสามัญ 
ข้อ 51. ให้ใช้ข้อบังคับตั้งแต่วันที่นายทะเบียนสมาคมการค้าประจำกรุงเทพฯได้อนุญาติให้จัดตั้งเป็นสมาคมการค้าเป็นต้นไป